ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คำสนทนาที่จำเป็น Essential Dialogues

การทักทายเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราต้องใช้ เพราะวันๆ
หนึ่งเราต้องพูดคุย หรือติดต่อต่อสื่อสารกับผู้อื่น และการทักทายที่ดีนั้น
จะทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน และการสนทนาก็ดีตามไปด้วย และในบทความนี้
ได้มีการนำ ประโยคการทักทายรูปแบบต่างๆ ในภาษาอังกฤษ มาให้กับน้องๆ
ทุกคน ได้เรียนรู้กัน เอาหละ!ไปกันเลย!
Jack: Good morning, Ms. Roses
Roses: Good morning, Mr. Jack
Jack: How are you?
Roses: Very well, thank you and how about you?
Jack: Me too, thanks.
Roses: Lovely day, isn’t it?
Jack: Yes it is.

แจ๊ค: สวัสดีครับ คุณโรส
โรส: สวัสดีค่ะ คุณแจ๊ค
แจ๊ค: คุณสบายดีไหม?
โรส: สบายดีค่ะ ขอบคุณนะคะ แล้วคุณ หล่ะเป็นอย่างไรบ้าง?
แจ๊ค: ผมก็สบายดีเหมือนกัน
โรส: วันนี้อากาศดีนะคะ
แจ๊ค: ใช่ครับ วันนี้อากาศดีจริงๆ


Notice! ตามธรรมเนียมแล้ว เมื่อบุคคลทั่งสองกล่าวสวัสดีกันแล้ว คำต่อไปนี้ก็มักจะไต่ถามสารทุกข์สุขดิบซึ่งกันและกัน ดังนั้นคำที่ใช้ถามอาจใช้คำใดคำหนึ่งต่อไปนี้
How are you? คุณสบายดีหรือ
How are you today? วันนี้คุณสบายดีหรือ
How are you this morning? เช้าวันนี้คุณสบายดีหรือ
How are you this afternoon? บ่ายวันนี้คุณสบายดีหรือ
How is it going with you? คุณสบายดีไหม

เมื่อผู้ถูกถามตอบแล้วเขานั้นควรขอบใจ และถามทุกข์สุขกับผู้ถามตอบแทนน้ำใจกัน
Very well, thank you, and how are you? สบายดีครับ ขอบคุณครับแล้วคุณล่ะสบายดีไหม
Very well, thanks, how about you? สบายดีครับ ขอบคุณครับแล้วคุณล่ะสบายดีไหม
Fine, thanks, and you? สบายดีครับ ขอบคุณครับแล้วคุณล่ะสบายดีไหม
Fine, thank you, and how are you? สบายดีครับ ขอบคุณครับแล้วคุณล่ะสบายดีไหม
I’m quite well, thank you. And you? สบายดีครับ ขอบคุณครับแล้วคุณล่ะสบายดีไหม
แต่ถ้าผู้ตอบจะตอบว่าไม่ สบายอาจใช้คำต่อไปนี้ได้
Not so well. I have a cold. ไม่สบายเท่าไหร่หรอกครับ ผมเป็นหวัด
Not very well. I have a headache. ไม่สบายเท่าไหร่หรอกครับ ผมปวดศีรษะ
I’m sorry to hear it ผมเสียใจด้วยที่ทราบเช่นนั้น
That’s too bad. แย่จริงซินะครับ

การไต่ถามถึงดินฟ้าอากาศภายหลังการไต่ถามสุขทุกข์กัน เป็นธรรมเนียมของคนอังกฤษและอเมริกัน
ดังนั้นคำไต่ถามถึงสภาพอากาศจึงจัดอยู่ในประเภทคำทักทายชนิดหนึ่งด้วย ดังนี้
Nice day, isn’t it? วันนี้อากาศดีนะครับ
Lovely day, isn’t it? วันนี้อากาศดีนะครับ
Beautiful day, isn’t it? วันนี้อากาศดีจริงๆ
Cold today, isn’t it? วันนี้หนาวนะครับ
Windy today, isn’t it? วันนี้ลมแรงนะครับ
Looks like rain, doesn’t it? ดูเหมือนฝนจะตกนะครับ

เมื่อผู้กล่าวถามเชิงทักทายเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศแล้ว ผู้ตอบอาจใช้คำต่อไปนี้ คือ
- Yes, it is. จริงครับ - Yes, isn’t it? จริงครับ
- Yes certainly is. จริงทีเดียวครับ

Parting การบอกลาหรือกล่าวอำลา
การลาจากกัน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมอันหนึ่งของมนุษย์ ดังนั้นคำที่นำมาพูดกล่าวลา หรือบอกลานั้น เจ้าของภาษาเขาพูดกันอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลย

ถ้อยคำที่ใช้กล่าวในการบอกลา
Good bye, Bye ลาก่อน, ลาที (ใช้ทั่วไป)
Good night ลาก่อน (ใช้เมื่อจากกันไปนอน)
So long ลาก่อน, ลาที (ใช้กับคนสนิท)
See you later. แล้วพบกันใหม่นะครับ
I’ll be seeing you. แล้วผมจะมาพบใหม่
See you. แล้วค่อยพบกันนะ(ใช้กับคนสนิท)

ถ้าอยากขอตัวกลับก่อน ให้ใช้ดังนี้
I’d better be on my way. ผมเห็นจะต้องไปเสียที
I had better go now. ผมคงต้องไปแล้วล่ะ
I really must be going. ผมจำเป็นต้องไปเสียแล้วสิ
I’ll be back. เดี๋ยวผมจะกลับมา (รอสักเดี๋ยวนะ)

ถ้าเขาไม่สบาย ควรกล่าวต่อท้ายคำลาดังนี้
Take care of yourself รักษาเนื้อรักษาตัวด้วยนะ
ถ้าเขามีธุระจะไป หรือทำอะไร ควรบอกเขาว่า
Don’t let me keep you. อย่าให้ผมต้องทำให้คุณเสียเวลาเลยครับ (มีธุระอะไรก็เชิญได้ตามสบายเลยครับ)

ถ้าเขาจะไปสอบ หรือไปเสี่ยงโชค ควรกล่าวต่อท้ายคำลาดังนี้
Good luck ขอให้โชคดีนะครับ

ถ้าเขาจะไปเที่ยว ไปงานเลี้ยง ควรกล่าวต่อท้ายคำลาดังนี้
Have a nice time. ขอให้สนุกเต็มที่นะ
Have a good time. ขอให้สนุกเต็มที่นะครับ
Have a pleasant trip. ขอให้เดินทางอย่างสนุกนะครับ
Bon voyage (บ๊อง วัวยาจ ฝรั่งเศส) ขอให้เดินทางโดยปลอดภัยนะครับ

ถ้ามีแขกมาเยี่ยมบ้าน และเขาจะกลับ เราควรบอกเขาว่า
Come again. แล้วมาอีกนะ
Come again, please. ขอเชิญแวะมาอีนะครับ
Please come again soon. กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียนใหม่นะครับ

ถ้าจะฝากความระลึกถึงไปด้วย เราควรบอกว่า
Please give my best regards to your mother.
ฝากความนับถือไปยังคุณแม่ของคุณด้วยนะครับ
Remember me to John. บอกจอห์นด้วยว่าผมคิดถึง
Say hello to William for me. บอกวิลเลี่ยมด้วยว่าผมคิดถึง

ถ้าเขาจะจากไปไกลและไปนานด้วย เราควรบอกเขาว่า
Don’t forget to write. อย่าลืมเขียนจดหมายมาบ้างเด้อ
Let me hear from you often. แล้วเขียนจดหมายมาบ่ยๆนะ
Drop me a line. อย่าลืมเขียนจดหมายมานะ
Drop me a card when you get there. ส่งไปรษณีย์มาบ้าง เมื่อคุณไปถึงที่นั่นแล้ว
ถ้าจะออกจากงานเลี้ยง เราควรบอกแก่เจ้าภาพว่า
I had a good time. ผมสนุกมากครับ
I had a nice time. ผมสนุกจริงๆ คืนนี้
I had a fine time. ผมสนุกมากครับ
I enjoyed myself very much. ผมสนุกมากจริงๆ
It has been a real pleasure. เป็นความสนุกสนานอย่างแท้จริงครับ
Thank การขอบคุณ
การขอบคุณถือเป็นมารยาทอันหนึ่งในสังคม เราใช้คำนี้เมื่อมีใครได้ให้
ความช่วยเหลือแก่เรา หรือ ทำคุณประโยชน์บางอย่างให้แก่เรา ฉะนั้น
เราจึงต้องรู้จักคำกล่าวขอบคุณไว้บ้างว่า ในภาษาอังกฤษเขาใช้กันอย่างไร ไปดูกันเลย

Thank you very much. ขอบคุณมาก
Thank you so much. ขอบคุณมาก
Thanks. ขอบคุณ
Thanks a lot. ขอบคุณมาก
Thank you for your kindness. ขอบคุณที่ช่วยเหลือ
Thank you for your trouble. ขอบคุณมากที่คุณต้องมาลำบากลำบน
เมื่อขอบคุณแล้ว เราอาจจะพูดต่อไปอีกก็ได้เช่น
Thank you. That’s very kind of you ขอบคุณครับ สำหรับความเอื้อเฟื้อ
Thanks a lot. That’s very thoughtful of you ขอบคุณสำหรับน้ำจิตน้ำใจที่มอบให้

เมื่อมีใครขอบคุณเรา คำตอบที่นิยมใช้กันมีดังนี้
You’re welcome. ไม่เป็นไรครับ
You’re quite welcome ไม่เป็นไรครับ ยินดี
Don’t mention it. ไม่เป็นไร (อย่าไปพูดถึงเลย)
Not at all. ไม่เป็นไร
I’m pleased to do so. ผมยินดีที่ได้ทำเช่นนั้น



Excuses and Apologies การขอโทษ
การขอโทษถือเป็นความสุภาพอย่างหนึ่งของมนุษย์ เราใช้เมื่อต้องการจะกระทำอะไร
สักอย่างหนึ่ง แต่เกรงว่าจะไปรบกวนผู้อื่น หรือใช้เมื่อตนมีความผิดหรือทำความ
ลำบากให้แก่ผู้อื่น ซึ่งถ้อยคำที่ใช้ก็มีหลายแบบ เช่น เดินชนกัน, เหยียบเท้าผู้อื่นเมื่อ
ต้องการเดินผ่าน ขอให้หลีกทาง ความผิดพลาดเล็กๆ น้อย นิยมใช้ ดังนี้


Excuse me, Excuse me, please. ขอโทษครับ (ค่ะ)

อีกฝ่ายก็จะตอบว่า

Certainly, Of course. ไม่เป็นไรครับ (ค่ะ)

แต่ถ้าการกระทำนั้นเป็นความผิดพลาดค่อนข้างร้ายแรงหน่อย เช่น
- ทำให้ผู้อื่นเจ็บโดยไม่ตั้งใจ (เช่นก้มศีรษะชนกัน, ศอกไปถูกผู้อื่น หรือเหยียบเท้า)
- ทำน้ำเปื้อนเสื้อผ้า, สิ่งของของเขา - ทำแก้วน้ำหกบนโต๊ะอาหาร
- เข้าที่ประชุมล่าช้าจนคนอื่นต้องรอคอย - ไปหรือมาช้ากว่ากำหนดนัดหมาย
เราสามารถใช้
I beg your pardon. I’m awfully sorry.
I’m very sorry. ขอโทษเถิดครับ (ผมผิดไปแล้ว)
I’m terribly sorry. ผมเสียใจเป็นอย่างยิ่งครับ

เช่นกัน ผู้ที่เรากล่าวขอโทษ ขออภัย ก็มักจะตอบกลับมาว่า
Not at all. It doesn’t matter.
That’s quite all right. Don’t mention it.
ไม่เป็นไรครับ (ค่ะ)
Don’t worry about it at all. อย่าไปพูดหรือกังวลกับมันเลย


Congratulations การแสดงความยินดี
การแสดงความยินดีมักนำมาใช้กับผู้ที่ได้ประสบโชคดี เช่นเขาได้เลื่อนชั้น
เป็นยศหรือตำแหน่งสูงขึ้นไปกว่าเดิม หรือเมื่อเราได้ทราบว่า เขาผู้นั้นมีโชคดี
อะไรบางอย่าง เราก็อดไม่ได้ที่จะแสดงออกถึงความยินดีต่อเขา เจ้าของภาษา
เขาใช้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

Congratulations! ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
I’m happy to hear it. ผมยินดีด้วยนะครับ
I’m very glad to hear this. ผมดีใจมากที่ได้ทราบเช่นนี้
Let me congratulate you. ผมขอแสดงความยินดีด้วย
How lucky you are! คุณช่างโชคดีจริงนะ
That’s wonderful! วิเศษจริง
How wonderful! วิเศษจริงแท้

Regret การแสดงความเสียใจ
การแสดงความเสียใจ จะนำมาใช้พูดเมื่อผู้อื่นได้รับความทุกข์ความ
เดือดร้อน หรือประสบโชคร้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจะมาดูกันว่าเขาใช้กันอย่างไร ดังนี้
I’m sorry to hear it ผมเสียใจด้วยที่ได้ทราบข่าว
I’m very sorry to hear that. ผมเสียใจมากๆ ด้วยนะ
Isn’t that a pity! แหม..แย่จริงๆเชียวนะครับ
Isn’t that too bad! แหม..แย่จริงๆเชียวนะครับ
How unfortunate! โชคร้ายจริงนะครับ

ผู้ฟังเมื่อได้ยินผู้อื่นมากล่าวแสดงความเสียใจเช่นนี้ อาจกล่าวตอบไปหรือไม่ก็ได้ดังนี้ว่า
Thank you ขอบคุณครับ (ที่มาแสดงความเสียใจกับผม) เราที่เป็นผู้กล่าวแสดงความเสียใจ
เราอาจกล่าวเสริมขึ้นไปอีกดังนี้ก็ได้คือ

Is there any thing I can do? มีอะไรจะให้ผมช่วยไหมครับ?
If there’s anything I can do, please let me know.
ถ้ามีอะไรจะให้ผมช่วยโปรดบอกนะครับ (ให้ผมได้ทราบ)


Command and Request คำสั่งและขอร้อง
คำสั่งและการขอร้องนำมาใช้ เมื่อเราต้องการให้ผู้อื่นกระทำอะไรให้
ฉะนั้นเพื่อนๆจำต้องรู้ด้วยว่าหลักสากลเขานิยมพูดกันอย่างไร จึงจะสุภาพ ได้แก่คำต่อไปนี้

Please open the book. โปรดเปิดหนังสือของท่านหน่อย
Open your book, please. โปรดเปิดหนังสือของท่านหน่อย
Will you please open the door? กรุณาเปิดประตูให้หน่อยครับ?
Would you please open the door/? กรุณาเปิดประตูให้หน่อยครับ?
Would you open the door, please? กรุณาเปิดประตูให้ได้ไหมครับ?
Would you be so kind as to open the door? คุณจะกรุณาเปิดประตูให้หน่อยได้ไหมครับ?
Would you mind opening the door? คุณเปิดประตูให้ได้ไหมครับ?

คำที่ใช้ตอบคำขอร้องหรือคำสั่งนั้น ในทางปฏิบัติไม่นิยมใช้ yes
แต่จะใช้คำต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งแทนOf course. ได้สิครับ
Certainly. ได้ซิครับAll right. ได้ซิครับ
O.K. ได้ซิครับ I’d be glad to. ยิน(ดีทำ)ให้ครับ
ถ้าเราทำตามคำสั่งหรือคำขอร้องให้ไม่ได้ ก็หมายถึงว่าต้องตอบด้วย NO แต่ในทางปฏิบัติก็นิยมใช้คำต่อไปนี้
I’m sorry, but…(บอกเหตุผลว่าทำไมทำไม่ได้)
I’m afraid I can’t I…..(บอกเหตุผลว่าทำไมทำไม่ได้

Asking Permission การขออนุญาต
เมื่อเราจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เกรงว่าผู้อื่นจะรำคาญหรือต้องการขออนุญาต เพื่อกระทำสิ่งนั้นได้อย่างสบายใจ จึงมักขออนุญาตเสียก่อน คำที่นิยมใช้มีดังนี้
May I speak English with you? ผมพูดภาษาอังกฤษกับคุณได้ไหม

Do you mind if I speak English with you?
คุณรังเกียจไหม ถ้าผมจะพูดภาษาอังกฤษกับคุณ
Would you mind if I spoke English with you?
คุณจะรังเกียจไหมครับถ้าผมจะพูดภาษาอังกฤษกับคุณ
แบบที่ 3 นิยมใช้ที่สุด ถือว่าเป็นแบบที่สุภาพที่สุด
Borrowing and Lending การขอยืมและให้ยืม
เมื่อเราต้องการขอยืมสิ่งของจากผู้ใด จำต้องรู้ด้วยว่าเจ้าของภาษาเขาพูดกัน
อย่างไร ซึ่งสามารถเลือกได้ตามนี้
1.May I borrow your rubber? ผมขอยืมยางลบคุณได้ไหมครับ?
2. Would you mind lending me your rubber?
คุณให้ผมยืมยางลบของคุณได้ไหมครับ?
โดยปกติแล้ว ผู้ขอยืมมักจะบอกด้วยว่า จะยืมไปนานเท่าไหร่ เช่น
- May I borrow your bike for two days?
- ผมขอยืมรถจักรยานของคุณสัก 2 วันได้ไหมครับ?
- Would you mind lending me this car for a few days?
- คุณจะกรุณาให้ผมยืมรถยนต์คันนี้ สัก 2-3 วันได้ไหมครับ
Could you lend me five hundred baht until next week?
- คุณจะให้ผมยืมสัก 500 บาทได้ไหมครับ สัปดาห์หน้าจะใช้คืน
การตอบ
- Certainly ได้สิครับ
- Of course ได้ครับ, เอาไปเลยครับ
- I’ll be glad on ด้วยความยินดีครับ
- I’m sorry, but I’ll use it this evening.
เสียใจจริงครับ ผมจะต้องใช้มันเย็นวันนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รูปสระผสมของภาษาอังกฤษ U

U เท่ากับสระ อุ และ อั u ไปเป็นสระตัวเดียวของพยัญชนะต้นที่เป็นตัว f, p มักจะออกเสียงเป้นสระ อุ เช่น full ฟูล เต็ม, ทั้งสิ้น fulsome ฟูลซัม มากมาย put พุท ผลัก, ดัน pull พุล ดึง, ฉุด, ลาก u ไปเป็นสระตัวเดียวของพยัญชนะต้นตัวอื่นนอกจาก f, p มักจะออกเสียงเป็น อั เช่น but บัท แต่ cut คัท ตัด dun ดัน ทวงถาม nun นัน นางชี u ไปเป็นสระตัวเดียวในคำตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป จะออกเสียงเป็น อิ บ้าง อั บ้าง เป็น อุ บ้าง อู บ้าง ทั้งนี้ต้องหมั่นถามผู้รู้กว่า หรือไม่ก็ดูในพจนานุกรมเพิ่มเติม human ฮิวมัน มนุษย์ manufactory แม็นนิวแฟ็คโทรี โรงงาน status สเททัส สถานะ ruthless รูธเลส เหี้ยมโหด Notice! กฎ 3 ข้อ เกี่ยวกับ u ที่กล่าวมา เป็นเพียงข้อสังเกตง่ายๆ เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มเรียนไม่สับสนในขั้นเบื้องต้นเท่านั้นเอง หาได้เป็นกฎหรือหลักเกณฑ์ตายตัวไม่ ดังนั้นหากไปพบคำบางคำไม่ได้อ่านตามกฎ ที่ว่ามาก็อย่าได้สงสัยหรือแปลกใจนะครับ เช่น ดังต่อไปนี้ u ในคำต่อไปนี้ให้อ่านออกเสียงเป็น ย และเป็นสระ อู ให้กับตัวมันเองไปในตัวเลย ได้แก่ uniform ยูนิฟอร์ม เครื่องแบบต่างกาย unit ยูนิท หน่วย university

English Camp Songs

1 .Hello Hello, Hello, Hello Hello, how do you do? I’m grade to be with you And you, and you, and you ☺Da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, ( 2 times) 2. Happiness Happiness is in my heart. Happiness is in your heart Happiness is in my heart And in your heart Lun lun lun la, Lun lun lun la, Lun lun lun la. 3. I have a joy I have a join, join, join, join, Down in my heart. Down in my heart I have a join, join, join, join Down in my heart. Down in my heart Down in my heart today. (2 times) 4. Hello Good morning Hello Good morning, Hello good morning. How are you? How are you? I’m fine’ Thank you (2 times) - Hello Good Afternoon - Hello Good evening 5. Wait Wait I wait for you But I don’t know where are you. When will you, when will you Come to me. I want to see you be around. 6. Wincey Wincey Wincey Wincey spider climb up the water spout. Dow came the rain and washed the spider our Out came the sun and dried up on theRain. Win

เสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษ

เสียงพยัญชนะที่ยากต่อการออกเสียงของคนไทยคือ CH, G, L, R, S, SH, TH, V, W, X, และ Z เสียงพยัญชนะส่วนใหญ่จะเป็นไปตามที่มีการเรียนการสอน โดยเสียงบางคำจะมีการดัดแปลงให้ง่ายต่อการออกเสียง หรืออาจจะมีการอ่านตาม ภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษ เสียงพยัญชนะทั้งหมดเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้ B -- บ ใบไม้ เช่น boy บอย C -- เป็นได้ทั้ง ซ โซ่ และ ค ควาย และ ก ไก่ โดยส่วนมากจะใช้ --CA, CO, CU -- ค ควาย เช่น car คาร์, come คัม, cute คิ้วท์ --CE, CI, CY -- ซ โซ่ เช่น cell เซลล์, city ซิตี้, cylinder ไซลินเดอร์ --SC -- ก ไก่ เช่น scar สการ์, screen สกรีน, scuba สกูบา อย่างไรก็ตาม มีหลายคำที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนด D -- ด เด็ก เช่น dog F -- ฟ ฟัน เช่น fun G -- จะไม่มีเสียงในภาษาไทย แต่จะเป็นเสียงควบของ ก ไก่ กับ ง งู หรือ เสียงควบของ จ จาน กับ ย ยักษ์ -- GA, GE, GO, GU - ออกเสียง ก-ง เช่น gas แก๊ส, get เก็ท, golf กอล์ฟ, gun กัน -- GI - ออกเสียง จ-ย เช่น gigabyte จิกะไบต์ กับ gigantic ไจแกนติค H -- อ่านว่า เอช (ในอังกฤษอเมริกัน) ออกเสียง เหมือน ห หีบ และ ฮ นกฮูก เช่น hello เฮลโล J -- จ จ