ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อักษรเงียบ (Silent Letters) 1

คำในภาษาอังกฤษมากกว่า 60% มีตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง หรือ อักษรเงียบ (อังกฤษ:Silent Letters) ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของตัวอักษรในคำต่างๆ ที่ไม่ต้องออกเสียง
A
ea- เช่น treadle (เทร็ดเดิล) bread (เบร็ด) thread (เธร็ด)
คำที่ลงท้ายด้วย -cally ทั้งหลาย (ซึ่ง al จะไม่ออกเสียง) เช่น technically (เทค-นิค-ลี) logically (ลอ-จิค-ลี) politically (โพ-ลิ-ติค-ลี)
B
-mb เช่น lamb (แลม) bomb/bomber (บอม/บอมเมอร์) comb (คม) numb (นัม) thumb (ธัม) tomb (ทูม)plumb/plumber พลัม/พลัมเมอร์
-bt เช่น debt (เด็ท) doubt (เดาท์) subtle (ซัทเทิล)
C
sc- เช่น scissors (ซิสเซอร์ส) science (ไซแอนซ์) scent (เซนท์) muscle (มัสเซิล)
คำอื่นๆ เช่น acquit (อะควิท) acquire (อะไควร์) czar (ซา/ซาร์) yacht (ย็อท/ย้าท)victual (วิทัล ) indict/indictable (อินไดท์/อินไดเทเบิล) Tucson (ทูซอน) Connecticut (คอนเนทิคัท)
D
-dg- เช่น edge (เอ็จ) bridge (บริจ) ledge (เล็จ)
-nd- เช่น handkerchief (แฮงเคอชิฟ) handsome (แฮนซัม) landscape (แลนสเกป) sandwich (แซนวิช) Windsor (วินเซอร์) รวมทั้ง grand ต่างๆ ที่เป็นปู่ย่าตายาย เช่น grandma/grandmother grandpa/grandfather grandson/granddaughter และ Wednesday (เวนสเดย์ ตัว e ก็เงียบด้วย)
E
ส่วนใหญ่ที่ตามท้ายตัวสะกดจะไม่ออกเสียง เช่น fame (เฟม) serve (เซิฟ/เซิร์ฟ) rite (ไรท์) more (มอร์) clue (คลู) vogue (โว้ก) corpse (คอร์พส)
คำกริยาหลายๆ คำที่ลงท้ายด้วย -en พอเติม -ing หรือ -er ตัว e (และตัว n) ก็จะไม่ออกเสียง เช่น fastening/fastener (ฟาสนิง/ฟาสเนอร์) whitening/whitener (ไวท์นิง/ไวท์เนอร์) softening/softener (ซอฟนิง/ซอฟเนอร์)
F -- halfpenny (เฮพนี)
G
-gn เช่น align (อะไลน์) design (ดีไซน์) gnash (แนช) reign (เรน) champagne (แชมเพน) resign (รีไซน์ แต่ออกเสียงตัว g ใน resignation เรสิกเนชัน)
-gh (ซึ่งจะไม่ออกเสียงทั้ง g และ h) เช่น light (ไลท์) high (ไฮ) eight (เอท) straight (สเตรท)
คำอื่นๆ เช่น diaphragm (ไดอะแฟรม)
H
wh- เช่น what (ว็อท) where (แวร์) when (เว็น) whisper (วิสเพอร์) whistle (วิสเซิล)
xh- เช่น exhaust (เอ็กซอสต์) exhibition (เอ็กซิบิชัน) exhibit (เอ็กซิบิท)
h นำหน้าสระ honor/honour (ออเนอร์) honest (ออเนสต์) hour (อาวร์) heir (แอร์)
คำอื่นๆ เช่น ghost (โกสต์) khaki (กากี) rhyme (ไรม์) school (สคูล) Thames (เทมส์) Pooh (พู)

I -- business (บิสเนส)
J -- ไม่มี
K -- kn- เช่น knee (นี) know (โน) knight (ไนท์) knowledge (นอเล็จ)
L
-al- เช่น talk (ทอค) walk (วอค) chalk (ชอค) calf (คาฟ) half (ฮาฟ) psalm (ซาม) calm (คาม) salmon (แซมอน) almond (อามอนด์)
-ol- เช่น folk (โฟค) yolk (โยค)
could/should/would (คู้ด/ชู้ด/วู้ด)
M -- mnemonic (นีโมนิค) grammar (แกรมาร์ ออกเสียงตัว m แค่ตัวเดียว)
N
-mn เช่น autumn (ออทัม) condemn (คอนเด็ม) damn (แดม) hymn (ฮิม) column (คอลัม แต่ออกเสียงตัว n ใน columnist คอลัมนิสต์)
คำอื่นๆ เช่น monsieur (เมอซู)
O -- leopard (เล็พเพิด) jeopardy (เจ็พเพอดี)
P
pn- เช่น pneumatic (นิวแมติก) pneumonia (นิวมอเนีย)
ps- เช่น psychology (ไซโคโลจี) pseudo (ซูโด) psalm (ซาม) corps (เอกพจน์อ่าน โค พหูพจน์อ่าน โคส)
pt- เช่น ptomaine (โทเมน) Ptolemy (โทเลมี) receipt (รีซีท)
pb- เช่น cupboard (คับบอร์ด) clapboard (คลับบอร์ด) Campbell (แคมเบล)
คำอื่นๆ เช่น coup (คู) raspberry (ราสเบอรี)
Q -- ไม่มี
R
diarrhea (ไดอะเรีย ออกเสียง r ตัวเดียว)
ใน British English ตัว r ที่อยู่หน้าพยัญชนะหรือสระตัวอื่น จะเป็นอักษรเงียบ เช่น card (ค้าด) fork (ฟ้อค) แต่ใน American English จะออกเสียง (คาร์ด ฟอร์ค)
S
-sl เช่น isle (ไอล์) island ไอแลนด์ aisle (ไอล์ เหมือน isle เลย a ตัวแรกก็เงียบด้วย)
คำอื่นๆ เช่น Illinois (เอ็ลลินอย) bourgeois (เบอร์จัว)viscount (ไวเคานท์) fracas (เฟรคา แต่คำนี้อเมริกันออกเสียงตัว s ด้วย จะออกเป็น เฟรคัส) debris (เดบรี) apropos (อัพโพรโพ)
T
st- เช่น listen (ลิสซึน) fasten (ฟาสเซน) castle (คาสเซิล) rustle (รัสเซิล) asthma (แอสมา) Christmas (คริสมาส) tsunami (ซูนามิ)
-et เช่น ballet (บัลเล) buffet (บัฟเฟ) gourmet (อังกฤษ กัวเม อเมริกัน กัวร์เม)
ft- เช่น soften (ซ็อฟเฟน) often (อ็อฟเฟน แต่คำนี้ออกเสียงตัว t ด้วยก็ได้ อ็อฟเทน)
rapport (รัพพอร์)
U -- u ที่นำหน้าสระ ไม่ออกเสียง เช่น guard (กาด/การ์ด) guess (เกส) build (บิลท์) guide (ไกด์) four (ฟอ/ฟอร์ เหมือน for) tongue (ทังก์) colleague (คอลลีก) cheque (เช็ค)
V -- ไม่มี
W
wr- เช่น write (ไรท์) wrong (รอง) wrist (ริสต์)
sw- เช่น sword (ซ้อด) answer (อานเซอร์)
wh- เช่น whore (ฮอร์) whole (โฮล) who (ฮู)
rw- เช่น Norwich (นอริช) Warwick (วอริค)
คำอื่นๆ เช่น two (ทู) Greenwich (กรีนนิช)
X -- faux pas (โฟ พา) Sioux (ซู)
Y -- say (เซ) mayor (เมเออร์/แมร์)
Z -- rendezvous (รอนเดวู) laissez-faire (ลัซเซแฟร์) chez (เช

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

English Camp Songs

1 .Hello Hello, Hello, Hello Hello, how do you do? I’m grade to be with you And you, and you, and you ☺Da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, ( 2 times) 2. Happiness Happiness is in my heart. Happiness is in your heart Happiness is in my heart And in your heart Lun lun lun la, Lun lun lun la, Lun lun lun la. 3. I have a joy I have a join, join, join, join, Down in my heart. Down in my heart I have a join, join, join, join Down in my heart. Down in my heart Down in my heart today. (2 times) 4. Hello Good morning Hello Good morning, Hello good morning. How are you? How are you? I’m fine’ Thank you (2 times) - Hello Good Afternoon - Hello Good evening 5. Wait Wait I wait for you But I don’t know where are you. When will you, when will you Come to me. I want to see you be around. 6. Wincey Wincey Wincey Wincey spider climb up the water spout. Dow came the rain and washed the spider our Out came the sun and dried up on theRain. Win...

คำว่า ตอแหล (ไอ้หน้าหี) ภาษาอังกฤษ โดย บ.บู๋

คำว่า "Lying" แปลเป็นไทยสไตล์โคกอีแหลวประมาณว่า โกหก-ปลิ้นปล้อน-กะล่อน-ตอแหล นั่นแหละ ส่วนคำว่า "Cunt" ในพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ฉบับปรับปรุงใหม่ของ So Sethaputra ให้คำจัดกัดความอย่างกระชับเป็นอย่างยิ่งว่า "อวัยวะเพศหญิง" ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวอังกฤษแล้วเกิดอารมณ์กระหายอยากดื่ม "น้ำส้มคั้น" สักแก้ว กรุณาพูดว่า "ออร์เรนจ์ จูซ" นะครับ อย่าเผลอพูดไทยกับสาวเสิร์ฟว่า "ขอน้ำส้มคั้นท์แก้วนึง" เป็นอันขาด เพราะคุณอาจจะได้น้ำอย่างอื่นมาดื่มแทน อิอิอิ ในความหมายของชาวบ้านแถวนั้น เข้าใจว่าพวกเขานำคำว่า "Cunt" มาขยายความหมายของ "Lying" ให้มีอัตราความรุนแรงและกะซวกกางเกงในให้เป้าแตกมากยิ่งขึ้น ไม่ต่างจากการใช้ "เวิร์บ ทู ฟัก" เพื่อขยายคำศัพท์ให้มันได้อารมณ์และความรู้สึกแบบ "ขั้นกว่า" ยกตัวอย่างเช่นประโยคคำถามธรรมดา What are you doing? ถ้าสนิทสนมกัน พวกบักสีดาแถวอังกฤษหรืออเมริกามักจะเติม F - Word เข้าไปเป็น What are F**k you doing? เหมือนเวลาคนไทยเรียกชื่อเพื่อนซี้มักจะต้องมีสรรพนามที่เป็นสัตว์เลื้...

เสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษ

เสียงพยัญชนะที่ยากต่อการออกเสียงของคนไทยคือ CH, G, L, R, S, SH, TH, V, W, X, และ Z เสียงพยัญชนะส่วนใหญ่จะเป็นไปตามที่มีการเรียนการสอน โดยเสียงบางคำจะมีการดัดแปลงให้ง่ายต่อการออกเสียง หรืออาจจะมีการอ่านตาม ภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษ เสียงพยัญชนะทั้งหมดเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้ B -- บ ใบไม้ เช่น boy บอย C -- เป็นได้ทั้ง ซ โซ่ และ ค ควาย และ ก ไก่ โดยส่วนมากจะใช้ --CA, CO, CU -- ค ควาย เช่น car คาร์, come คัม, cute คิ้วท์ --CE, CI, CY -- ซ โซ่ เช่น cell เซลล์, city ซิตี้, cylinder ไซลินเดอร์ --SC -- ก ไก่ เช่น scar สการ์, screen สกรีน, scuba สกูบา อย่างไรก็ตาม มีหลายคำที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนด D -- ด เด็ก เช่น dog F -- ฟ ฟัน เช่น fun G -- จะไม่มีเสียงในภาษาไทย แต่จะเป็นเสียงควบของ ก ไก่ กับ ง งู หรือ เสียงควบของ จ จาน กับ ย ยักษ์ -- GA, GE, GO, GU - ออกเสียง ก-ง เช่น gas แก๊ส, get เก็ท, golf กอล์ฟ, gun กัน -- GI - ออกเสียง จ-ย เช่น gigabyte จิกะไบต์ กับ gigantic ไจแกนติค H -- อ่านว่า เอช (ในอังกฤษอเมริกัน) ออกเสียง เหมือน ห หีบ และ ฮ นกฮูก เช่น hello เฮลโล J -- จ จ...