ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Intonation

ความท้าทายอย่างหนึ่งของการพูดภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนเจ้าของภาษานั้น คือการเลือกออกเสียงสูงต่ำ
และหนักเบาให้เหมาะสม (Intonation) หลายๆท่านอาจคิดว่าการพูดภาษาอังกฤษเก่งเป็นพรสวรรค์
หรือความสามารถส่วนบุคคล ซึ่งความเชื่อนี้ถือว่าผิดมหันต์เลยล่ะค่ะ เพราะการพูดภาษาอังกฤษให้ลื่นไหล
และคล่องนั้นเป็นสิ่งที่เรียนรู้กันได้ ทั้งนี้ขอเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจในการพูดภาษาอังกฤษก่อนว่า
การออกเสียงที่ถูกต้อง รวมถึงการเลือกออกเสียงสูงต่ำที่เหมาะสมนั้น จะทำให้การพูดภาษาอังกฤษของคุณน่าฟัง
น่าเชื่อถือ และเข้าใจความหมายได้ชัดกว่าการพูดเรียบๆให้ทุกคำมีเสียงเท่าๆกัน

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตรงไหนต้องออกเสียงเน้นหนักหรือเบา หรือ ตรงไหนต้องทอดเสียงสูงหรือต่ำ เรามาดูกัน
ข้อแรก ให้เลือกออกเสียงเน้นหนักในคำนาม แม้ว่ากริยาในประโยคจะมีความสำคัญเท่าไรก็ตาม ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (คำที่พิมพ์ตัวหนาคือคำที่ออกเสียงเน้นหนัก)
เช่น Dogs eat bones.
ในประโยคข้างต้นนี้เราจะออกเสียงเน้นหนักที่ Dogs กับ bones ซึ่งเป็นคำนามในประโยคนี้
ซึ่งจะตีความหมายจากการพูดได้ว่า “ หมาน่ะ มันกินแต่กระดูก”
ในทางกลับกันเมื่อแทนที่ด้วยคำสรรพนาม การออกเสียงจะไปเน้นที่ตัวกริยาทันที
เช่น They eat them.
(ก็มันกินน่ะสิ )

การออกเสียงเน้นหนักเบาที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ฟังทราบอารมณ์ของผู้พูด และเดาทิศทางการสนทนาได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆก็มาบอกกันหน้าตาเฉยว่า “หมากินกระดูก” ผู้ฟังอาจจะรู้สึกงง ว่ามาบอกกันทำไม

ข้อที่สอง เมื่อต้องการพูดเกริ่นนำเข้าเนื้อหา

เช่น As we all know, English is very important.
“อย่างที่เราทราบๆกันดีอ่ะนะว่า ภาษาอังกฤษสำคัญมาก”
เราจะพูดโดยขึ้นเสียงสูงในประโยค As we all know, เพื่อเป็นการแนะนำข้อความ “English is very important.”

ดังนั้นคำพูดติดปากที่ว่า You know, …………จึงขึ้นเสียงสูงเสมอค่ะ
และการที่ต้องทอดเสียงให้สูง เพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกชวนติดตามให้ผู้ฟัง เหมือนกับคนไทยบอกว่า “นี่เธอ รู้อะไรมั้ย” โดยที่เราจะไม่พูดแบบเฉิ่มๆว่า “ คุณรู้อะไรไหม….”
ข้อที่สาม ในการพูดถึงสิ่งของที่เป็นหมวดหมู่ เราจะขึ้นเสียงสูงทุกคำ ยกเว้นตัวสุดท้าย
เช่น Dogs eat bones, water, and meat.

และข้อสุดท้าย ที่พบบ่อยๆคือ การออกเสียงเน้นหนักในประโยคที่มีคำว่า “can” หรือ “ can’t”
เมื่อใดที่ประโยคต้องการบอกถึงความสามารถ เราจะออกเสียงเน้นหนักที่ตัวกริยา ที่เราทำได้เลย
เช่น I can swim.
แต่เมื่อใดที่เราต้องการบอกปัด ว่าเราทำไม่ได้ การออกเสียงเน้นหนักจะไปอยู่ที่คำว่า can’t ทันทีค่ะ
เช่น I can’t swim.

Intonation หรือ การออกเสียงสูงต่ำ หนักเบาในภาษาอังกฤษจะทำให้คนไทย พูดภาษาอังกฤษเพราะขึ้น เพราะมีหลักการในการลงเสียง มากกว่าการสุ่มเดาเอา ตามหลักเกณฑ์ของตัวเอง

และเป็นที่น่าเสียดายที่คนไทยหลายๆท่านยังคงคิดว่า เรียนภาษาอังกฤษให้พออ่านได้ ฟังรู้เรื่องโดยลืมไปว่า การออกเสียงที่ถูกต้องนั้นแหละจะเป็นตัวเพิ่มศัพยภาพในการฟัง (Listening) เพราะเมื่อเรารู้มาตรฐานเสียงที่จะพูด(Speaking)ได้ถูกต้อง สุดท้ายเราก็จะทราบได้ทันทีว่าต่างชาติท่านที่กำลังสื่อสารอยู่กำลังพูดอะไร และความรู้สึกอย่างไร ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องการออกเสียงทางภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่สำคัญมากไม่แพ้กับการเรียนรู้เรื่องไวยากรณ์ และศัพท์เลยล่ะค่ะ

“A clear conscience is a good pillow.”
(French Proverb)
“การรู้จริงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด”

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รูปสระผสมของภาษาอังกฤษ U

U เท่ากับสระ อุ และ อั u ไปเป็นสระตัวเดียวของพยัญชนะต้นที่เป็นตัว f, p มักจะออกเสียงเป้นสระ อุ เช่น full ฟูล เต็ม, ทั้งสิ้น fulsome ฟูลซัม มากมาย put พุท ผลัก, ดัน pull พุล ดึง, ฉุด, ลาก u ไปเป็นสระตัวเดียวของพยัญชนะต้นตัวอื่นนอกจาก f, p มักจะออกเสียงเป็น อั เช่น but บัท แต่ cut คัท ตัด dun ดัน ทวงถาม nun นัน นางชี u ไปเป็นสระตัวเดียวในคำตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป จะออกเสียงเป็น อิ บ้าง อั บ้าง เป็น อุ บ้าง อู บ้าง ทั้งนี้ต้องหมั่นถามผู้รู้กว่า หรือไม่ก็ดูในพจนานุกรมเพิ่มเติม human ฮิวมัน มนุษย์ manufactory แม็นนิวแฟ็คโทรี โรงงาน status สเททัส สถานะ ruthless รูธเลส เหี้ยมโหด Notice! กฎ 3 ข้อ เกี่ยวกับ u ที่กล่าวมา เป็นเพียงข้อสังเกตง่ายๆ เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มเรียนไม่สับสนในขั้นเบื้องต้นเท่านั้นเอง หาได้เป็นกฎหรือหลักเกณฑ์ตายตัวไม่ ดังนั้นหากไปพบคำบางคำไม่ได้อ่านตามกฎ ที่ว่ามาก็อย่าได้สงสัยหรือแปลกใจนะครับ เช่น ดังต่อไปนี้ u ในคำต่อไปนี้ให้อ่านออกเสียงเป็น ย และเป็นสระ อู ให้กับตัวมันเองไปในตัวเลย ได้แก่ uniform ยูนิฟอร์ม เครื่องแบบต่างกาย unit ยูนิท หน่วย university

English Camp Songs

1 .Hello Hello, Hello, Hello Hello, how do you do? I’m grade to be with you And you, and you, and you ☺Da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, da, ( 2 times) 2. Happiness Happiness is in my heart. Happiness is in your heart Happiness is in my heart And in your heart Lun lun lun la, Lun lun lun la, Lun lun lun la. 3. I have a joy I have a join, join, join, join, Down in my heart. Down in my heart I have a join, join, join, join Down in my heart. Down in my heart Down in my heart today. (2 times) 4. Hello Good morning Hello Good morning, Hello good morning. How are you? How are you? I’m fine’ Thank you (2 times) - Hello Good Afternoon - Hello Good evening 5. Wait Wait I wait for you But I don’t know where are you. When will you, when will you Come to me. I want to see you be around. 6. Wincey Wincey Wincey Wincey spider climb up the water spout. Dow came the rain and washed the spider our Out came the sun and dried up on theRain. Win

เสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษ

เสียงพยัญชนะที่ยากต่อการออกเสียงของคนไทยคือ CH, G, L, R, S, SH, TH, V, W, X, และ Z เสียงพยัญชนะส่วนใหญ่จะเป็นไปตามที่มีการเรียนการสอน โดยเสียงบางคำจะมีการดัดแปลงให้ง่ายต่อการออกเสียง หรืออาจจะมีการอ่านตาม ภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษ เสียงพยัญชนะทั้งหมดเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้ B -- บ ใบไม้ เช่น boy บอย C -- เป็นได้ทั้ง ซ โซ่ และ ค ควาย และ ก ไก่ โดยส่วนมากจะใช้ --CA, CO, CU -- ค ควาย เช่น car คาร์, come คัม, cute คิ้วท์ --CE, CI, CY -- ซ โซ่ เช่น cell เซลล์, city ซิตี้, cylinder ไซลินเดอร์ --SC -- ก ไก่ เช่น scar สการ์, screen สกรีน, scuba สกูบา อย่างไรก็ตาม มีหลายคำที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนด D -- ด เด็ก เช่น dog F -- ฟ ฟัน เช่น fun G -- จะไม่มีเสียงในภาษาไทย แต่จะเป็นเสียงควบของ ก ไก่ กับ ง งู หรือ เสียงควบของ จ จาน กับ ย ยักษ์ -- GA, GE, GO, GU - ออกเสียง ก-ง เช่น gas แก๊ส, get เก็ท, golf กอล์ฟ, gun กัน -- GI - ออกเสียง จ-ย เช่น gigabyte จิกะไบต์ กับ gigantic ไจแกนติค H -- อ่านว่า เอช (ในอังกฤษอเมริกัน) ออกเสียง เหมือน ห หีบ และ ฮ นกฮูก เช่น hello เฮลโล J -- จ จ